ข้อมูลพื้นฐาน

1. ประวัติ/ความเป็นมาของโรงเรียน

ในระหว่าง พ.ศ.2476 ถึง พ.ศ.2479 นักเรียนในหมู่บ้านโนนขี้ตุ่นไปเรียนที่โรงเรียนบ้านกุดหูลิง ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร พ.ศ. 2480 ผู้ปกครองนักเรียนในหมู่บ้านนี้ ได้ไปขออนุญาตยกเว้นการเรียน ที่โรงเรียนบ้านกุดหูลิง เพราะเห็นว่าระยะทางไกลและการเดินทางลำบาก พ.ศ. 2482 ทางอำเภอเห็นว่าที่หมู่บ้านโนนขี้ตุ่น มีเด็กจำนวนมากพอที่จำขอจัดตั้งโรงเรียน ได้ จึงอนุญาตให้เปิดโรงเรียนขึ้น เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2482 และย้ายนายเมฆ กันชัย มาเป็นครูใหญ่และให้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนบ้านตลาดแร้ง 9 วัดโนนขี้ตุ่น” วันที่ 14 พฤษภาคม 2499 ทางราชการได้ย้ายนายแมน กันชัย ให้ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนบ้านต้อน และย้าย นายพัฒน์ บุญตาม มาเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านโนนขี้ตุ่นมารับตำแหน่ง วันที่ 18 พฤษภาคม 2499 วันที่ 15 กันยายน 2508 อำเภอมีคำสั่งที่ 56/2508 ย้ายนายพัฒน์ บุญตาม ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองโสมง และย้ายนายสีหะ ประยูศรี ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหว้าเฒ่า มาเป็นครูใหญ่โรงเรียนนี้ นายสีหะ ประยูรศรี เดินทางมารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2508 พ.ศ. 2510 โรงเรียนได้รับงบประมาณปลูกสร้างอาคารเรียนเอกเทศถาวร จำนวนเงิน 75,000 บาทคณะครูพร้อมด้วยผู้ปกครองชาวบ้านโนนขี้ตุ่นได้บริจาคเงินสมทบอีกจำนวนเงิน15,000 บาท สร้างเป็นอาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ. ใต้ถุนเตี้ย 3 ห้องเรียน และขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่เป็น “โรงเรียนบ้านโนนขี้ตุ่น” ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน บนพื้นที่ นส.3 ก เลขที่ 5340 เนื้อที่ 14 ไร่ 8 ตารางวา พ.ศ. 2521 ทางโรงเรียนได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง เป็นเงิน 4,200 บาท สร้างตามแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ฉ ใต้ถุนสูง 3 ห้องเรียน ใช้งบประมาณ 420,000 บาท พ.ศ. 2528 ทางราชการได้ย้ายและแต่งตั้งให้ นายมังกร วงศ์บุตร ครูใหญ่โรงเรียนบ้านกุดตะเคียน มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านโนนขี้ตุ่น ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2528 แทนนายสีหะ ประยูรศรี ซึ่งเกษียณอายุราชการ พ.ศ. 2530 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ. 33 จำนวน 1 ชุด งบประมาณ 30,000 บาท พ.ศ. 2533 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง แบบ สปช. 202/26/120 ม.2 ได้รับงบก่อสร้างส้วม แบบ สปช. 601/26 จำนวน 4 ที่ 1 หลัง และต่อไฟฟ้าภายในอาคารเรียน พ.ศ. 2536 ทางราชการได้มีคำสั่งย้าย นายมังกร วงศ์บุตร ไปโรงเรียนบ้านวังกุ่ม 9 เมษายน 2536 ทางราชการได้บรรจุและแต่งตั้งนายชูชาติ กรมรินทร์ เป็นครูใหญ่ โรงเรียนบ้านโนนขี้ตุ่น 1 เมษายน 2537 ทางราชการได้ย้ายและแต่งตั้งนายชูชาติ กรมรินทร์ ไปเป็นครูใหญ่ โรงเรียนบ้านท่าแตง สปอ.จัตุรัส และแต่งตั้งนายสถิตย์ จุลเถียร ให้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านโนนขี้ตุ่น และได้รับแต่งตั้งเป็นตำแหน่งอาจารย์ใหญ่เมื่อ 19 มกราคม 2541 1 ตุลาคม 2545 นายสถิตย์ จุลเถียร ได้รับเลื่อนและแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ตามคำสั่งสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ที่ 311/2546 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2546 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านโนนขี้ตุ่น เปิดทำการสอน 2 ระดับ คือระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา โดยใช้หลักสูตรการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (ฉบับสถานศึกษา พ.ศ. 2546) ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2. ที่ตั้ง ขนาด และ สภาพชุมชน

2.1 ที่ตั้งโรงเรียนบ้านโนนขี้ตุ่น ตั้งอยู่บ้านโนนขี้ตุ่น หมู่ที่ 9 ตำบลตลาดแร้ง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ รหัสไปรษณีย์ 36170 แยกจากถนนสาย ชัยภูมิ – นครสวรรค์ ระยะทางจากโรงเรียนถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ประมาณ 22 กิโลเมตร

ทิศเหนือติดกับที่ดินของ

นายบุญเพิ่ม ทรายงาม ความยาว 43.40 เมตร

นายแจ่ม ชัยกุมภ์ ความยาว 41.30 เมตร

นายจันทร์ บุญขันธ์ ความยาว 34.60 เมตร

นายคำแหง จานแสน ความยาว 36.50 เมตร

ทิศตะวันออกติดถนนสาธารณะ ความยาว 164.60 เมตร

ทิศใต้ถนนสาธารณะและถนนกรมโยธา ความยาว 145.0 เมตร

ทิศตะวันตก ถนนกรมโยธา ความยาว 165.0 เมตร

2.2 เนื้อที่บริเวณโรงเรียน

จำนวนเนื้อที่ปัจจุบัน จำนวน 1 แปลง ตามเอกสาร นส.3 ก เลขที่ 5340 มีเนื้อ 14 ไร่ - งาน 8 ตารางวา

3. สภาพปัจจุบัน

3.1 ด้านอาคารสถานที่

การบริหารการศึกษา

วิสัยทัศน์ (Vision)

ภายในปี 2556 โรงเรียนบ้านโนนขี้ตุ่น มุ่งเน้นปฏิรูปการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา ครูได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพ ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา

พันธกิจ (Mision)

1. จัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา ให้แก่เด็กวัยเรียนทุกคนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

2. จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามความถนัดอย่างมีคุณภาพ เป็นคนดี คนเก่งอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข รู้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม

3. พัฒนาระบบบริหารโรงเรียน โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และหลักการโรงเรียนวิถีพุทธ

4. ปรับปรุงระบบข้อมูลสารสนเทศ นำเทคโนโลยี นวัตกรรมที่เหมาะสมมาใช้พัฒนาการจัดการศึกษา

5. พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถนำมาพัฒนาผู้เรียน สนองความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน

6. ระดมทรัพยากรและแสวงหาความร่วมมือจากชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา

เป้าประสงค์ (Goal)

1. นักเรียนมีความรู้ความสามารถตามหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้

2. นักเรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุขสนุกกับการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ

3. บุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ

4. โรงเรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

5. ชุมชนให้ความร่วมมือ สนับสนุนการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์การดำเนินงาน (Strategy)

1. สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและ มีประสิทธิภาพ

2. พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้หลักสูตรเป็นเครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ

3. จัดกระบวนการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักพุทธธรรมอย่างบูรณาการ

4. ส่งเสริมบรรยากาศของการใฝ่รู้ใฝ่เรียน วัฒนธรรมแสวงปัญญาและมีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน

5. ปฏิรูปการเรียนรู้และส่งเสริมครูให้เป็นครูมืออาชีพ

6. เพื่อความเข้มแข็งและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ นำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา